ประวัติผู้ก่อตั้ง
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า ครูเตือน พาทยกุล
ครูเตือน พาทยกุล เกิด เมื่อวันเสาร์ เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 27 มกราคม 2448 ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อ นายพร้อม พาทยกุล เป็นช่างทำทอง และเป็นนักดนตรี หัวหน้าวงปี่พาทย ที่ัจังหวัดเพชรบุรี มารดาชื่อ นางตุ่น พาทยกุล มีน้องสาวคนเดียวแต่ถึงแก่กรรมเมื่อยังเด็ก นายเตือน พาทยกุล สมรสกับนางกิมไล้ เมื่อ พ.ศ. 2471 มีบุตรชายหญิงรวม 4 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 3 คน ต่อมานางกิมไล้ถึงแก่กรรม จึงได้สมรสกับนางบุญเรือง เมื่อ พ.ศ. 2485 มีบุตรชายหญิงรวม 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน
กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระประวัติ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ทรงมีพระนามเดิมว่า “ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ “ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 62 ทรงเป็นต้นราชสกุล “ จิตรพงศ์ ”
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ชึ้น 11 ค่ำ ปีกุน จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 ภาย ในพระบรมมหาราชวัง ทรงได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ สิงหนาม “ ทรงมีพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาพระองค์เดียวคือ “ พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกา “
ปี พ.ศ. 2428 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า “ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ “
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์โดยสงบ มีพระชันษา 83 ปี มีการจัดพิธีพระราชทานพระเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พระองค์ ทรงรับราชการสนองในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ, เสนาบดีกระทรวงพระคลัง , เสนาบดีกระทรวงกลาโหม , ผู้บังคับบัญชากรมยุทธนาธิการ , ผู้บัญชาการทหารเรือ พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัติวงศ์ “ในปี พ.ศ. 2448
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ยังคงรับราชการส่วนพระองค์ โดยทรง ออกแบบงานต่าง ๆ ตามพระราชประสงค์เช่น พระโกศพระบรมอัฐิและพระวิมานทองคำลงยาราชาวดีสำหรับประดิษฐานพระบรมอัฐิพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตัน พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง มีพระบรมราชโองการเลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัติวงศ์ ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ “
ครูช้อย สุนทรวาทิน
ครูช้อย สุนทรวาทิน เป็นอัจฉริยะทางดนตรีไทยผ ู้เปี่ยมทั้ง ฝีมือ และวิชาความ รู้ แต่งเพลงอมตะไว้หลายเพลงเช่น โหมโรงครอบจักรวาล แขกลพบุรี 3 ชั้น แขกโอด 3 ชั้น ใบ้คลั่ง 3 ชั้น เขมรปี่แก้ว 3 ชั้น เขมรโพธิสัตว์ 3 ชั้น อกทะเล 3 ชั้น ด้านฝีมือมีชื่อเสียงทั้ง ปี่ ระนาด และ ฆ้อง นอกจากนั้นท่านยังเป็น "ยอดครูดนตรีไทย" มีลูกศิษย์มากและหลายท่านมีชื่อเสียง เยี่ยม เป็น "ครูผู้ใหญ่"ในยุคต่อมาเช่น พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระยาเสนาะ ดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูเพชร จรรย์นาฎ พระประดับดุริยกิจ (แหยม) พระพิณบรรเลงราช (แย้ม) เป็นต้น
เรื่องที่น่าแปลกก็คือ ท่านเป็นนักดนตรีที่ตาบอดสนิ ทมาตั้งแต่ 3 ขวบ แต่อัจฉริย ภาพทางดนตรีของท่านเหนือกว่าคนตาดีรุ่นราวคราวเดียวกับท่านทั้งในด้านวิชาฝีมือ และการถ่ายทอดวิชาดนตรีจนกล่าวได้ว่าท่านเป็นหลักของวงการดนตรีไทยสืบต่อจาก พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
ครู ช้อย เป็นบุตร ครูทั่ง ซึ่งเป็นครูดนตรีผ ู้ใหญ่รุ่นใกล้เคียงกับ พระประดิษฐ์ ไพเราะ (ครูมีแขก) ครูช้อยนัยตาบอดทั้งสองข้างเพราะไข้ทรพิษตั้ง แต่อายุ 3 ขวบ ครู ทั่งจึงมิได้สอนวิชาดนตรีให้อย่างจริงจังแต่ท่านเป็นอัจฉริยะสามารถจำเพลง ได้แม่น ยำและฝึกฝนด้วยตนเองจนมีฝีมือดี มีอยู่คราวหนึ่งคนระนาดประจำวงครูทั่งป่วยกระทันหัน ครูช้อยสามารถ บรรเลงแทนได้เป็นอย่างดี บิดาจึงทุ่มเทสอนวิชาดนตรีให้เต็มที่ ด้วยอัจฉริยภาพยอดเยี่ยมท่านจึงศึกษาจนแตก ฉานและพัฒนาความรู้ให้งอกเงยออกไป จนมีความรอบรู้และเชี่ยวชาญทั้งการบรรเลงปี่พาทย์และมโหรี จนมีชื ่อเสียงโด่งดังยิ่ง กว่าครูทั่งผู้เป็นบิดา
คุณ ย่าไผ่ ภรรยาของท่านเล่าให้ ครูเลื่อน สุนทรวาทิน ผู้เป็นหลานปู่ของท่าน ฟังว่า ครูช้อยสีซอสามสายด ีและใส่สายซอได้ทั้งๆที่ท่านตาบอดแต่มีโสตประสาท และการใช้มือสัมผัสได้ละเอียดอ่อน ใช้มือแทนตาได ้เป็นอย่างดี ครูเพชร จรรย์นาฎ ศิษย์รุ่นเล็กของท่านเล่าว่า เวลาลูกศิษย์ซ้อมเพลง ถ้าใครบกพร่องผิดพลาดท ่านจะดีดเม็ดมะขามให้ถูกคนนั้นเพื่อเตือนให้รู้ตัวได้ อย่างแม่นยำ พร้อมกับอธิบายด้วยวาจาให้รู้ข้อบกพร่อ งนั้นไปด้วย ศิษย์ของท่านจึงมีความรู้และฝีมือดีกันทุกคน
ในด้านฝีมือดนตรี ครูช้อย เชี่ยวชาญทั้ง ระนาด ปี่ ฆ้อง จึงน่าจะเป็นผู้ที่พัฒนาวิธีบรรเลงระนาดเอกให้ประณีตแยบยลไพเราะกว่าที่เคยบรรเลงกันมาแต่เด ิมอีก ด้วยดังจะได้อธิบายและแสดงเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไปดังนี้
ในด้านการบรรเลงระนาดเอกแม้ว่าครูช้อยจ ะไม่มีชื่อเสียงโด่งดังเท่า ระนาด ขุนเณร (พระเสนาะดุริยางค์) ซึ่งน่าจะเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกันแต่ถ้า ดูจากฝีมือของ ลูกและลูกศิษย์จะเห็นได้ชัดว่าท่านต้องแตกฉานเรื่องระนาดเอกมากทีเดียวยกตัวอย่าง เช่น พ ระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) บุตรคนโตของครูช้อย ตามประวัติไม่ เคยเป็นศิษย์ครูคนอื่นอย่างเป็นกิ จจะลักษณะ เรียนเต็มที่กับบิดาเท่านั้น แต่ก็แตกฉาน ทั้ง ระนาด ปี่ ฆ้อง และเครื่องดนตรีอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะ ระนาดเอก นั้นมีชื่อ เสียงโด่งดังสืบต่อจากระนาดขุนเณร เลื่องลือมากในช่วงกลางรัชกาลที่ 5 ฝีมืออันเป็น เลิศนั้นนอกจากเพราะอัจฉริยภาพส่วนตัวแล้วยังต้องได้รับการฝึกสอนอย่างดีมาจาก บิดาคือ ครูช้อย สุนทรวาทิน อีกด้วย ส่วนฝีมือในการบรรเลงปี่และฆ้องก็เช่นเดียวกัน
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ศิษย์คน โตของครูช้อย ไม่ทราบแน่ชัดว่าเคยเรียนวิชาปี่พาทย์กับใครบ้าง แต่ได้เรียนเต็ม ที่กับ ครูช้อย เป็นศิษย์เอกที่ครูช้อยทุ่มเทสอนให้อย่างไม่ปิดบัง ซึ่งก็ปรากฏว่านายแปลกเป็น คนระนาดและค นปี่ชั้นเอกเสมอด้วยพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ท่านยัง แตกฉานในการบรรเลงเครื่องดนตรีอื ่นๆและมีความรู้มากจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นครูผู้ใหญ่มาตั้งแต่อายุยังไม่มากนักมีศิษย์ที่มีฝ ีมือทางระนาดหลายคน เช่นพระเพลงไพเราะ และหลวงชาญเชิงระนาด เป็นต้น
ศิษย์ อีกคนของครูช้อยคือ ครูเพชร จรรย์นาฎ ซึ่ง เป็นศิษย์คนเล็กก็มีฝีมือจัดมากทั้งด้านระนาดเอกและฆ้องเคยเป็นคนระนาด เอกประจำวงวังบูรพาภิรมย์มาก่อนค รูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ภายหลังจึงเปลี่ยนไปเป็นคนฆ้อง ลูกศิษย์คนหนึ่งของครูเพชรซึ่งมีช ื่อเสียงในการบรรเลงระนาดเอกในยุคต่อมาคือ ครูบุญยง เกตุคง
ครู บุญยง เกตุคง เล่าว่าเรื่องสำคัญที่ท่านได ้เรียนจากสำนักครูเพชรคือเรื่องรสมือและทาง บรรเลงมีการฝึกตีประคบมือให้ได้เสียงที่ประณีตเหมาะสม ใช้ ทางบรรเลงที่แยบยลงดงามกว่าที่ท่านเคยเรียนมาจากครูคนก่อนๆ ครูเพชรเป็นนักดนตรีวงวังบูรพาฯซึ่งพ ระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นครูผู้สอนแนวทางอันประณีตทั้งเรื่องรสมือและทางเพลงก็น่าจ ะมาจากครูแปลก และครูช้อยนั่นเอง
ยุค ของระนา ดขุนเณรและครูช้อยนี้น่าจะถือได้ว่า เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญซึ่งจะนำไปสู่ยุคก้าวหน้าของทางเพลง ระนาดเอก ระนาดขุนเณรเป็นมาตรฐานการตีระนาดของทางระนาดแบบเก่าซึ่งตีไหวและเสียงโต ชัดเจนส่วนครูช้อยเป็นผ ู้พัฒนารสมือและความเรียบร้อยในการตีระนาดเอกโดยใช้ กลอนดนตรีที่แยบยลมากยิ่งขึ้นจนถึงยุคของพระยาเสนาะ ดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ทางเพลงและศิลปะการตีระนาดจึง ได้พัฒนายิ่งขึ้นไปอีกจนเห็นได้เด่นชัด
ค รูช้อยจึงเป็นผู้ที่ได้วางรากฐานในการพัฒนากลอนระนาดเอก และรสมือในการบรรเลงระนาดให้กับ พระยาเสนาะด ุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) และนับว่าเป็นครูระนาดสำคัญค นหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์
ปีเกิด และปีตายของครูช้อยนั้นพอจะอนุมานได้ว่าน่าจะเกิดช่วง พ.ศ. 2370 - 2380 ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.2440 - 2443 ครูเลื่อน สุนทรวาทิน เล่าว่าคุณปู่ช้อยของท่านแก่กว่า คุณย่าไผ่สิบกว่าปี พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) บิดาท่านเป็นลูกชายคนโตของครูช้อย เกิด พ.ศ. 2409 ถ้าขณะ นั้นคุณย่าไผ่อายุ 19 - 20 คุณย่าไผ่ ก็ต้องเกิดปี พ.ศ.2389 ถึง พ.ศ.2390 ครูช้อยจึงน่าจะเกิดช่วงปี พ.ศ.2370 - 2380
ส่วน ปีตายนั้น หลวงบรรเลงเลิศเลอ (เกิด พ.ศ. 2422) เล่าว่า เมื่อ ท่านอายุราว 11 - 12 ปีได้ไปเป็นศิษย์ครูช้อยที่วัดน้อยทองอยู่ได้ทำหน้าที่จูงค รูช้อยไปสอนดนตรี ตามวงต่างๆและวังเจ้านายอยู่ 5 ปี จึงพ้นจากหน้าที่นี้ ซึ่งน่าจะประมาณปี พ.ศ. 2438 - 2439 ครูช้อยยังมีชีวิตอยู่ต่อมาแต่น่าจะถึงแก่กรรมก่อนปี พ.ศ. 2443 - 2445 ซึ่งเป็นช่วงที่ครูหลวงประดิษฐไพ เราะ (ศร ศิลปบรรเลง)ได้เป็น จางวางศร และได้ ประชันระนาดครั้งสำคัญกับพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนท รวาทิน) ถ้าครูช้อยยังมีชีวิต อยู่พระยาประสานดุริยศัพท์ (ครูแปลก)น่าจะเกรงใจครูช้อยและไม่ยอมมาสอน จา งวางศร และ ครูเพชร จรรย์นาฏ คงไม่กล้ามาเป็นคนฆ้องให้กับวงดนตรีของจางวางศรด้วยเช่นกัน ครูช้อยจึงน่าจะถึง แก่กรรมก่อนปี พ.ศ. 2445 และมีอายุในราว 70 ปี
พระยาเสนาะ ดุริยางค์
พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูซ้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝันวิชาดนตรี จากครูซ้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่ินเป็น "หลวงเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2453 ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่ินเป็น "พระเสนาะดุริยางค์" รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2468 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ป้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่ว
ครูพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือที่คนทั้งหลายเรียกกันว่า ครูมีแขก นั้น มีประวัติกล่าวไว้เป็น ๒ นัยคือ
จากหนังสือ "สาส์นสมเด็จ" เล่ม ๒ หน้า๑๒๑-๑๒๒ ซึ่งเป็นข้อความที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ ์ ทรงสืบประทานแด่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า
"ครูมีแขก (ครูปี่พาทย์หมายเลขน้ำเงินที่ ๕) คือว่าเป็นเชื้อแขก ชื่อ มี เล่นเครื่องดุริยแลดนตรีได้ เกือบทุกอย่าง เป็นคนฉลาด สามารถแต่งเพลงได้ดี มีชื่อร่ำลือ เพลงของท่านนั้นมี "ทยอยใน" "ทยอยนอก" สามชั้นเป็นต้น ซึ่งจำมาเล่นกันอยู่ทุกวันนี้ทั่วทุกวง ถ้าใครทำเพลงนี้ไม่ได้ดูประหนึ่งจะ ถือกันว่าไม่เป็น
ตัวท่านเองยังจะถนัดปี่มากกว่าสิ่งอื่น จึงปรากฏในคำไหว้ครูว่า "ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ" (คำนี้ฉบับที่ประทานมาเขียนว่า "เป่าทยอย" นั้นผิด " ทยอยซึ่งว่าในที่นี้ เป็นอีกเพลงหนึ่ง ปี่เป่าแต่เลาเดียว พวกปี่พาทย์เรียกกันว่า "ทยอยเดี่ยว" เป็นเพลงครูมี แต่งเหมือนกัน ต้องเข้าใจว่าแต่งขึ้นเป่าเอง ในรัชกาลที่ ๔ เจ้านายหลายพระองค์ มีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ กรมพระเทเวศร์ กรมหลวงวงศาฯ เป็นต้น ทรงรวบรวมคนหัดปี่พาทย์เล่นประชันวง ครูมีคนนี้ได้เป็น ครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐ ไพเราะตำแหน่งจางวางกรมปี่พาทย์ฝ่ายพระราชวังบวร พระประดิษฐ (มี) คนนี้อยู่มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังได้เป็นครูหัดมโหรีในสมเด็จกรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูรในพระบรมมหาราชวัง
อย่างไรก็ตามสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็ไม่ทรงเคยเห็นครูมี แขกเพียงแต่ทรงได้ยินชื่อ เท่านั้นเอง ดังข้อความใน "สาส์นสมเด็จ"เล่ม ๒๓ หน้า ๑๓๘ พระองค์ท่านทรงไว้ว่า
ครูมีแขกนั้นเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่เคยเห็นตัว"
จาก "สาส์นสมเด็จ" เล่มที่ ๒๓ หน้า ๑๕๖
สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพกราบทูลสนองแด่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า
"ครูมีแขกนั้น หม่อมฉันรู้จัก แต่เมื่อหม่อมฉันไว้จุกไปเรียนภาษาอังกฤษที่สมเด็จพระราชปิตุลา ประทับ ณ หอนิเทพพิทยาเห็นแกเดินผ่านไปหัดมโหรีของทูลกระหม่อมปราสาท ที่มุขกระสัน พระมหาปราสาททุกวัน เวลานั้นแกก็แก่มากอายุกว่า ๗๐ ปีแล้ว มีบ่าวแบกซอสามสายตาหลังเสมอ วันหนึ่งกรมประจักษ์ตรัสเรียกให้แกแวะที่หน้าหอ แล้วยืมซอสามสายของแกมาสี แกฉุออกปากว่า "ถ้าทรงสีอย่างนั้นไฟก็ลุก" จำได้เท่านั้น
อีกนัยหนึ่ง ตามที่ผู้สืบสกุลและผู้ใหญ่เล่าสืบกันมาว่า บ้านเดิมของครูแขกตั้งอยู่ในบริเวณสุเหร่า เหนือวัดอรุณราชวราราม และเมื่อคลอดออกมาใหม่ ๆ นั้น ท่านมีสิ่งขาว ๆ คล้ายกระเพาะครอบศีรษะ เหมือนหมวกแขก จึงได้สมญานามว่า "แขก" มาตั้งแต่เด็ก ๆ
สาเหตุที่คนทั่วไปเรียกประดิษฐไพเราะว่า "ครูมีแขก" นั้น อาจเนื่องมาจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ตามนัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่คนทั่วไปเรียกท่านว่าครูมีแขกอาจจะเนื่องมาจาก รูปร่างลักษณะของท่านก็เป็นได้ เพราะเท่าที่ผู้เขียน ได้พิจารณาดูภาพของท่านซึ่งเขียนด้วยสีน้ำมัน ฝีมือของขุนประเสริฐ หัตถกิจ ก็เห็นว่าหน้าตาของท่านมีหนวดเครา และมีขนขึ้นเต็มหน้าอกเลยทีเดียว
ในการที่จะค้นคว้า หรือสืบให้ทราบเป็นที่แน่ชัดว่า พระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เกิด วัน เดือน ปี อะไรนั้น ออกจะเป็นสิ่งทำได้ยาก ทราบแต่เพียงว่า
๑. ครูมีแขก เป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓ จนถึงในรัชกาลที่ ๕
๒. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเคยเห็นพระประดิษฐไพเราะขณะที่สมเด็จกรมพระ ยาดำรงฯ ทรงไว้พระเมาลีสมเด็จกรมพระยาดำรงประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕
๓. ครูมีแขก เป็นครูของครูสิน ศิลปบรรเลง บิดาของหลวงหลวงประดิษฐ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงประดิษฐไพเราะเกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๔
๔. ครูมีแขกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงประดิษฐไพเราะเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๓๙๖ และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๙๖
นักดนตรีไทยทุกคนต่างยอมรับนับถือความเป็นอัจฉริยะในทางดนตรีของครูมีแขก โดยถือว่า เป็นบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ของการดนตรีไทยทีเดียว ทั้งนี้เพราะว่านอกจากท่านมีความสามารถในการเล่นดนตรีได้แทบทุกชนิดแล้ว ท่านยังเป็นต้นตำรับในการแต่งเพลงประเภทต่าง ๆ ได้ดีเป็นเยี่ยมอีกด้วย ได้ดีเป็นเยี่ยมอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงประเภท "ลูกล้อลูกขัด" แต่ละเพลงของท่านมีชื่อเสียง มากเช่น เพลง ทยอยนอก ทยอยเดี่ยว ทยอยเขมร และเพลงเชิดจีน เหล่านี้เป็นต้น โดยที่ท่านครูมีแขกถนัดแต่งเพลงประเภท "ลูกล่อลูกขัด" หรือเพลงประเภท "ทยอย" พวกนักดนตรีชั้นหลัง ๆ จึงให้สมญาท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ดังในคำไหว้ครูปี่พาทย์ตอนหนึ่งว่า
"ที่นี่จะไหว้ครูปี่พาทย์ ฆ้องระนาดมือดีปี่ไฉน
ทั้งครูแก้วครูพักเป็นหลักชัย ครูทองอิมนั้นแหละใครไม่เทียมทัน
มือตอดหนอดหนักขยักขย่อน ตาพูนมอญมิใช่ชั่วตัวขยัน ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ" ที่ว่า "เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ" นั้น หมายถึงเพลงทยอยเดี่ยว ซึ่งท่านครูมีแขกแต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นเพลงสำหรับเป่าปี่เดี่ยวอวดฝีมือโดย เฉพาะตัวพระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) ซึ่งเป็นผู้แต่งเองก็ได้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจากการเป่าปี่เดี่ยวเพลงทยอย เดี่ยวนี่เอง และก็นิยมใช้เป็นเพลงสำหรับเดี่ยวปี่กัน ต่อมาภายหลังจึงมีผู้นำเพลงทยอยเดี่ยวไปประดิษฐ์เป็นทาง เดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เพลงทยอยเดี่ยวเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์เศร้าและคร่ำครวญอย่างผิดหวัง เมื่อฟังแล้ว จะทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์คล้อยตามไปกับเสียงเพลงอย่างดื่มด่ำทีเดียว
เพลงที่ถือเป็นต้นตำรับของเพลงลูกล้อลูกขัด ก็คือเพลงทยอยนอกนับเป็นเพลงเอกเพลงหนึ่ง ในจำพวกเพลงที่มีลูกล้อลูกขัด อาจกล่าวได้ว่า เพลงทยอยนอกเป็นเพลงแม่บทของเพลงลูกล้อลูกขัด ที่เกิดขึ้นในชั้นทั้งสิ้น เพลงนี้พระประดิษฐไพเราะ ได้แทรกลูกเล่นไว้อย่างพิสดาร มีทั้งเดี่ยว ลูกล่อลูกขัด ทีเบา ทีแรงอย่างบริบูรณ์ และเป็นเพลงสำหรับอวดผีมือไปในตัว ไม่มีเพลงประเภทลูกล้อลูกขัดเพลงใด จะเทียบเท่าซึ่งก็เป็นที่นิยมกันมาจนสมัยปัจจุบันเพลงนี้เข้าใจว่าได้แต่ง ขึ้นในตอนต้น รัชกาลที่ ๔
เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นที่หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบวรราชวัง ดังข้อความต่อไปนี้
ระยะเวลาระหว่างเดือนพฤศจิกายน กับเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ครูมีแขกได้แต่งเพลง "เชิดจีน" ขึ้น แล้วนำขึ้นบรรเลงทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดมาก จึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "ที่พระประดิษฐไพเราะ" ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๙๖ ดังข้อความต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่าชั่วระยะเวลาหนึ่งเดือนพอดีซึ่งท่านได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นด้วย เพลงเชิดจีนนี้แท้ ๆ และเพลงเชิดจีนนี้ ก็เป็นเพลงที่ดีเลิศ สมกับความดีความชอบที่ท่านได้รับนั้นจริง ๆ คือเป็นเพลงที่ท่าน ได้แต่งขึ้นโดยวิธีอันแปลกประหลาดกว่าเพลงไทยทั้งหลายที่เคยมีมา สำนวนทำนองของเพลงมีทั้งเชิง ล้อ เชิงชน ทีหนีทีไล่ ล้อหลอกกันไปมาระหว่างเครื่องนำกับเครื่องตามอย่างสนุกสนานและไพเราะ เร่งเร้า กระตุ้นเตือนให้ชวนฟังตลอดเวลา เพลงนี้ใช้ได้หลายอย่าง จะฟังเล่นให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน หรือจะเอาไปใช้ประกอบการรำ หรือแสดงละครก็ได้
ครูมีแขกเป็นผู้มีการสังเกตและสนใจจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ประสบพบเห็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าท่านได้พบ ได้เห็น ได้ยิน และได้ฟัง ดนตรีแปลก ๆ แล้ว ท่านก็จะจดจำนำมาดัดแปลงหรือมาแต่งเป็น เพลงขึ้นใหม่ตามหลักดุริยางค์ไทยได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง ดังมีเรื่องเล่ากันมาว่า วันหนึ่งขณะที่พระประดิษฐไพเราะกำลังเดินกลับจากสอนดนตรีในวังผ่านมา ได้ยินพวกจีนเขาเล่นมโหรีจีนกันอยู่ไหนก็ ให้ศิษย์ที่มาด้วยกัน ๒ คนคือ ครู สิน ศิลปบรรเลง และครูรอดช่วยกันจำไว้ พอไปถึงบ้านก็ได้นำมา เรียบเรียงประดิษฐ์ขึ้นเป็นเพลงชุดของเพลงจีนสี่เพลง คือ เพลงภิรมย์สุรางค์ เพลงอาเฮีย เพลงชมสวน และเพลงแป๊ะ ทั้ง ๔ เพลงนี้ก็ยังอยู่ในความนิยมของนักดนตรีไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้
อยู่มาถึงในรัชกาลที่ ๕ ครูมีแขกได้เป็นครูมโหรีในสมเด็จกรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร แล้ว จึงถึงแก่กรรม ท่านเป็นต้นสกุล "ดุริยางค์กูร" บุตรหลานของท่านยังเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดนตรีและ อุปกรณ์ อยู่ที่ ดุริยบรรณ ถนนตะนาว จนกระทั่งทุกวันนี้
ท่านบรมครูพระประดิษฐไพเราะ ได้สร้างผลงานไว้แก่วงดนตรีไทยอย่างมากมายและงดงาม เช่น เป็นต้นตำรับของการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่าง ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าเพลงเดี่ยวส่วนมาก เช่น พญาโศก พญาครวญ สารถี แขกมอญ จีนขิมใหญ่ ภิรมย์สุรางค์ และลมพัดชายเขาก็ล้วนแล้วแต่เป็นเพลงของพระประดิษฐไพเราะทั้งสิ้น ทั้งนี้ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า
เพลงของพระประดิษฐไพเราะนั้นยอดเยี่ยมเพียงใด เพลงพญาโศก
ถ้าท่านได้ยินชื่อของเพลงแล้วท่านก็จะทราบได้ว่าเป็นไปในทางมีทุกข์ มีร้อนหรือเศร้าเสียใจ พระประดิษฐไพเราะได้แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้มีครูอาจารย์อีกหลายท่านได้ทำเพลงนี้ให้เป็นทางเดี่ยวให้บรรเลงด้วย เครื่องมือต่าง ๆ กัน เช่น ปี่ ระนาด ฆ้อง และซอ เป็นต้น
เพลงสารถี เป็นเพลงที่พระประดิษฐไพเราะแต่งขึ้นเพลงนี้มีทำนองอ่อนโยนปลุกปลอบใจและตัด พ้อ ต่อว่า ระหว่างชายกับหญิงที่มีรักใคร่กัน และต่อมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีโบราณจารย์คิดทำขึ้นเป็น ทางเดี่ยวอวดฝีมือกันจนเป็นที่นิยมกันมาจนกระทั่งบัดนี้
นอกจากท่านบรมครูพระประดิษฐไพเราะจะเป็นต้นตำหรับของการเดี่ยวเครื่องดนตรี ชนิดต่าง ๆ แล้วท่านยังเป็นต้นตำรับของการแต่งเพลงประเภทสนุกสนานและเป็นต้นตำรับของ เพลงประเภทอื่น ๆ อีกมาก เพลงของท่านแต่ละเพลงล้วนเป็นเพลงอมตะที่คงอยู่ในความทรงจำของนักดนตรีไทย ตลอดไป เพลงที่ท่านแต่งไว้ก็มี กำสรวลสุรางค์ ขวัญเมือง แขกบรเทศ แขกมอญ แขกมอญบางช้าง จีนแส จีนขิมใหญ่ เชิดจีน ทยอยเขมร ทยอยเดี่ยว ทยอยนอก แป๊ะ อาเฮีย พญาครวญ พญาโศก พระอาทิตย์ชิงดวง และ ภิรมย์สุรางค์ เป็นต้น
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)
ประวัติ
หลวงไพเราะเสียงซอเดิมชื่ออุ่น ดูรยชีวิน เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ณ ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพยอมและนางเทียบ เมื่ออายุ 11 ปีท่านได้บวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก ภายหลังบิดามารดาย้ายเข้ากรุงเทพมหานครท่านจึงย้ายไปเรียนที่วัดปริณายก โดยเริ่มแรกท่านเรียนซอด้วงจากบิดาของท่าน
เวลาต่อมาท่านถวายตัวเข้าเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ท่านจึงมีโอกาสศึกษาดนตรีไทยกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ต่อมามีการก่อตั้งกองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ ท่านได้รับเลือกให้ฝึกหัดไวโอลิน และท่านได้เข้ารับราชการในกองดนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2448
เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯเสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ท่านจึงได้เลื่อนขั้นเป็นมหาดเล็กประจำ ต่อมารัชกาลที่หกมีพระราชประสงค์ให้มีวงดนตรีตามเสด็จพระราชดำเนินเมื่อแปร พระราชฐานตามหัวเมือง เรียกกันว่า"วงตามเสด็จ"ประกอบด้วยข้าราชการที่มีฝีมือทางด้านดนตรี ท่านเป็นผู้หนึ่งในวงตามเสด็จได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนดนตรีบรรเลง รองหุ้มแพรมหาดเล็ก ในที่สุดท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงไพเราะเสียงซอ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ครั้นสมัยรัชกาลที่เจ็ด หลวงไพเราะเสียงซอได้มีโอกาสเป็นพระอาจารย์สอนเครื่องสายถวายเจ้านาย ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ หม่อมเจ้าถาวรมงคล จักรพันธุ์และหม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธุ์ นอกจากนี้ท่านได้สอนถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลและข้าหลวงอีกด้วย ภายหลังกรมศิลปากรได้เชิญท่านสอนประจำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ และท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนทำให้วงดนตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป้นที่รู้จักในเวลาต่อมา
หลวงไพเราะเสียงซอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 84 ปี
ชีวิตครอบครัว
หลวงไพเราะเสียงซอสมรสกับนางนวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 เวลาต่อมาท่านได้สมรสครั้งที่สองกับหม่อมเจ้ากริณานฤมล สุริยง มีบุตรธิดาอีก 5 คน
ผลงาน
ผลงานของหลวงไพเราะเสียงซอนั้นมีปรากฏในราชการมากมาย อาทิวงขับไม้ใน พระราชพิธีสมโภชต่างๆในสมัยรัชกาลที่หก เช่นพระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีขึ้นระวางพระคชาธารเป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่เจ็ด เพลงคลื่นโหมโรงกระทบฝั่งซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่เจ็ด ก็มีที่มาจากคำกราบบังคลทูลของหลวงไพเราะฯ เมื่อครั้งตามเสด็จประพาสสัตหีบเมื่อปี พ.ศ. 2474
พระประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
ประวัติ
พระยาประสานดุริยศัพท์ นามเดิมชื่อแปลก ประสานศัพท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2403 ที่บ้านตรอกไข่ บิดาชื่อขุนกนกเลขา ส่วนมารดาชื่อนางนิ่ม เป็นบุตรคนโตจากจำนวน 4 คน ภรรยาชื่อนางพยอม เป็นชาวจังหวัดราชบุรี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2468 รวมอายุได้ 65 ปี
ประสบการณ์ด้านดนตรี
พระยาประสานดุริยศัพท์ มีความรู้ความสามารถในการเป่าปี่ใน ระนาดเอกอย่างดีเลิศและได้ศึกษาดนตรีกับครูช้อย สุนทรวาทิน จนมีความเชี่ยวชาญ ในปี พ.ศ. 2428 ได้มีโอกาสบรรเลงดนตรีที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าไปเดี่ยวขลุ่ยถวาย สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมด้วย จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูสอนปี่พาทย์และวงเครื่องสายมาโดยตลอด เป็นผู้ควบคุมวงปี่พาทย์ วงสมเด็จพระบรมซึ่งเป็นวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประสานดุริยศัพท์ เมื่อ พ.ศ. 2458
คีตวรรณกรรม
พระยาประสานดุริยศัพท์ ได้ใช้ความรู้ความสามารถแต่งเพลงไว้หลายเพลงด้วยกัน เช่น เขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีเถา เขมรใหญ่สามชั้น พม่าห้าท่อนสามชั้น ถอนสมอสามชั้น ทองย่อนสามชั้น กราวในสามชั้น ลาวดำเนินทราย ธรณีร้องได้สามชั้นและคุณลุงคุณป้าสามชั้น ทางเดี่ยว ลาวคำหอม เป็นต้น
นายมนตรี ตราโมท
มนตรี ตราโมท เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เกิดที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เมื่อ 17 มิถุนายนพ.ศ. 2443 เดิมชื่อ "บุญธรรม"
ในสมัยที่มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการตั้งชื่อบุคคล มนตรีจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "มนตรี" เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2485 นามสกุล "ตราโมท" เป็นนามสกุลที่หม่อมเจ้าคำรบ ปราโมช ประทานให้ มีสำเนียงล้อนามสกุล "ปราโมช" ขององค์
มนตรีศึกษาที่โรงเรียนปรีชาพิทยากร สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 เหตุที่มนตรีมีโอกาสได้เป็นนักดนตรีไทยก็เพราะว่าบ้านของมนตรีอยู่ใกล้วัด สุวรรณภูมิ ซึ่งมีวงปี่พาทย์ฝึกซ้อมกันอยู่เป็นประจำ มนตรีจึงได้ยินเสียงเพลงปี่พาทย์อยู่เสมอจนจำทำนองเพลงได้เป็นตอน ๆ
เมื่อเรียนจบ ม.3 แล้ว จึงคิดที่จะเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่มนตรีมีโรคภัยไข้เจ็บรบกวนตลอดเวลา เรียนไม่ทันเพื่อนฝูง เลยหมดกำลังใจที่จะเรียนต่อ ในเวลานั้น สมบุญซึ่ง เป็นนักฆ้องจึงชวนให้หัดปี่พาทย์ ซึ่งมนตรีก็มีใจรักอยู่แล้วจึงฝึกฝนด้วยความมานะพยายาม จนมีความคล่องแคล่วพอควร มนตรีได้เป็น นักดนตรีปี่พาทย์ อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 2 ปี ต่อมาราวปี พ.ศ. 2456 มนตรีได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ที่บ้านสมบุญ สมสุวรรณ ซึ่งมีทั้งปี่พาทย์และ แตรวง มนตรีจึงได้มีโอกาสฝึกหัดทั้งสองอย่าง
เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้สมัครเข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง มนตรีได้เรียนฆ้องวงใหญ่จากหลวงบำรุงจิตเจริญ (ธูป สาตนะวิลัย) และเรียนกลองแขก จากพระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์)
มนตรีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2476
มนตรีมีฝีมือทางการบรรเลงฆ้องวง แต่เพื่อให้มีฝีมือในเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงให้มนตรีเปลี่ยนเป็นครูตีระนาดทุ้ม มนตรีได้รับเลือกให้เข้าประจำอยู่ในวงข้าหลวงเดิม ซึ่งเป็นวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานทุกแห่ง ทำให้มนตรีเป็นผู้กว้างขวางในวงสังคมสมัยนั้น
มนตรีรับราชการอยู่ที่แผนกปี่พาทย์หลวงได้ไม่นาน ก็เกิดการโอนวงปี่พาทย์และโขนละครไปสังกัดอยู่กับกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2478 มนตรีจึงย้ายไปประจำโรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์)
หน้าที่การงานของมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มนตรีดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 นับเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้รับชั้นพิเศษ
เมื่อมนตรีเกษียณอายุ กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่ามนตรีมีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการศิลป ดุริยางค์ไทย จึงจ้างไว้ช่วยราชการต่อมาอีก 5 ปี จากนั้นก็จ้างในฐานะลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยกับคีตศิลป์ไทย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
นอกจากการทำงานประจำในหน้าที่ที่กรมศิลปากรแล้ว มนตรียังเป็นอาจารย์พิเศษสอนตามมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
มนตรีได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสครั้งแรก กับนางสาวลิ้นจี่ บุรานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2475 แต่ได้อยู่ร่วมกันเพียง 2 ปี นางลิ้นจี่ ก็ถึงแก่กรรม มนตรีจึงได้สมรสอีกครั้งกับนางสาวพูนทรัพย์ นาฎประเสริฐ ( นางพูนทรัพย์ ตราโมท ) เมื่อ พ.ศ. 2478 มีบุตรธิดารวม 4 คน คือ
นายฤทธี ตราโมท
นายศิลปี ตราโมท
นางดนตรี ตราโมท
นายญาณี ตราโมท
มนตรี ตราโมท ถึงแก่กรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลนนทเวช สิริรวมอายุ 95 ปี 1 เดือน 19 วัน
ผลงาน
นอกจากมนตรีจะมีฝีมือในการบรรเลงดนตรีแล้ว มนตรียังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีกด้วย มนตรีแต่งเพลงมาแล้วมากมาย มากกว่า 200 เพลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา มีทั้งเพลง 3 ชั้น เพลงเถา เพลงประวัติศาสตร์ เพลงระบำและเพลงเบ็ดเตล็ด เคยมีผู้รวบรวมไว้ได้ถึง 200 กว่าเพลง นอกจากมนตรีจะแต่งเพลงดังกล่าวมาแล้ว มนตรียังเคยแต่งเพลงประกวดทั้งบทร้องและทำนองเพลงและได้รับรางวัล 1 เพลงนั้นชื่อว่า "เพลงวันชาติ 24 มิถุนา" เมื่อ พ.ศ. 2483
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า มนตรี ตราโมทเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู และครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาวิชาดนตรีไทยของกรมศิลปากร นอกจากมนตรีจะกระทำพิธีให้แก่กองการสังคีตและวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดแล้ว มนตรียังทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยให้แก่หน่วยราชการ สถานศึกษาและเอกชนทั่วไป
มนตรีนอกจากจะมีความรู้และความสามารถในการแต่งเพลงและการบรรเลงดนตรีไทยแล้ว มนตรียังมีความรู้ทางโน้ตสากลและดนตรีสากลอีกด้วย ซึ่งยิ่งช่วยเพิ่มความรู้ทางดนตรีไทยและการแต่งเพลงมากขึ้น
มนตรีรักการอ่านหนังสือทำให้มนตรีมีความรู้กว้างขวาง มนตรีชอบโคลงมาก มนตรีจึงแต่งโคลงไว้มากมาย นอกจากนี้ หนังสือประเภทสารคดีที่เกี่ยวกับวิชาการทางด้านศิลปะ มนตรีก็ได้แต่งไว้หลายเรื่อง เช่น "ดุริยางค์ศาสตร์ไทยภาควิชาการ" "การละเล่นของไทย" "ศัพท์สังคีต" นอกจากนี้ก็มีเรื่องสั้น ๆ ที่มนตรีเขียนไว้ในหนังสือต่าง ๆ เช่น เรื่องปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา เครื่องสายไทย ดุริยเทพดนตรีกับชีวิต วงดนตรีประกอบการแสดงโขน ฯลฯ
มนตรียังได้เขียนอธิบายความหมายของคำต่าง ๆ ในหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานและเขียนเรื่องดนตรีไทยในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 1 ในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ หนังสือหลายเล่ม มนตรีก็ได้มีส่วนเขียนเรื่องดนตรีไทย ภาพกลางลงพิมพ์ในหนังสือชุดศิลปกรรมไทย หมวด "นาฏดุริยางคศิลป์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์" ด้วย
ผลงานทางด้านข้อเขียนของมนตรี ที่มนตรีภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อทางราชการสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วเสร็จ ได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเรียบเรียงข้อความที่จะจารึกเทิดทูนพระวีร เกียรติประวัติของพระองค์ โดยใช้ถ้อยคำแต่น้อยกินความมาก เพื่อให้พอเหมาะกับขนาดแผ่นจารึกที่ฐานพระราชานุสาวรีย์ ผลการคัดเลือกปรากฏว่า ข้อความของมนตรีได้รับการพิจารณาให้จารึกในแผ่นศิลาดังกล่าว
มนตรีเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มนตรีเคยได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการมากมายหลายคณะ เช่น
กรรมการตัดสินเพลงชาติ
กรรมการศิลปะของสภาวัฒนธรรม
ประธานกรรมการการรับรองมาตรฐานวิทยาลัยเอกชน สาขาดุริยางคศิลปะของทบวงมหาวิทยาลัย
รองประธานกรรมการตัดสิน การอ่านทำนองเสนาะ
กรรมการตัดสินคำประพันธ์เรื่องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำแบบเรียนวิชาดนตรีศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ฯลฯ
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2497) เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่านคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
ในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอกประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิญครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย
จางวางศร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือและความสามารถของท่าน เป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง ท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา และ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น
เพลงได้แต่งไว้หลวงประดิษฐไพเราะ ได้แต่งเพลงไว้มากกว่าร้อยเพลง ดังนี้:
เพลงโหมโรง
โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสะบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป็นต้น
เพลงเถา
กระต่ายชมเดือนเถา ขอมทองเถา เขมรเถา เขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีเถา แขกขาวเถา แขกสาหร่ายเถา แขกโอดเถา จีนลั่นถันเถา ชมแสงจันทร์เถา ครวญหาเถา เต่าเห่เถา นกเขาขแมร์เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้าเถา มุล่งเถา แมลงภู่ทองเถา ยวนเคล้าเถา ช้างกินใบไผ่เถา ระหกระเหินเถา ระส่ำระสายเถา ไส้พระจันทร์เถา ลาวเสี่งเทียนเถา แสนคำนึงเถา สาวเวียงเหนือเถา สาริกาเขมรเถา โอ้ลาวเถา ครุ่นคิดเถา กำสรวลสุรางค์เถา แขกไทรเถา สุรินทราหูเถา เขมรภูมิประสาทเถา แขไขดวงเถา พระอาทิตย์ชิงดวงเถา กราวรำเถา ฯลฯ
หลวงประดิษฐไพเราะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี
ชีวประวัติของท่านเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องโหมโรง ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2547 และได้รับการดัดแปลงซ้ำเป็นละครโทรทัศน์ ซึ่งออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อ พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น